จีนใช้ 3D Printer สร้างสะพานโค้งยาวที่สุดในโลก
จีนใช้ 3D Printer สร้างสะพานโค้งยาวที่สุดในโลก
ช่วงนี้เหมือนเป็นเทรนด์ทั่วโลกในการใช้นวัตกรรม 3D Printing พิมพ์คอนกรีตสร้างสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะสร้างสะพานจากเครื่องพิมพ์สามมิติ เช่น สะพานในเซียงไฮ้ ศาสตราจารย์ ซู เว้ยเกา แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Tsinghua ได้ออกแบบสะพานข้ามคลองตามรูปแบบสะพานโบราณเจ้าโจ้ว ซึ่งเป็นสะพานโบราณในช่วงราชวงศ์สุย (คศ.581 - 618) ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เมื่อสมัยก่อนนั้นการสร้างสะพานเจ้าโจ้วนั้นใช้เวลาประมาณ 11 ปี ในขณะที่ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติแบบคอนกรีตใช้เวลาเพียง 450 ชั่วโมง (18 – 19 วัน) และใช้คนงานเพียง 10 คน โดยงบประมาณในการสร้างเหลือเพียง 2 ใน 3 ของค่าก่อสร้างสะพานทั่ว ๆ ไป
ปัจจุบันสะพานจาก 3D Printing ที่ยาวที่สุดแห่งนี้ยาว 26 เมตร ถอดข้ามคลองขุดใน Wisdom Bay Innovation Park ในเซี่ยงไฮ้ ประกอบ (ประกบ) ด้วยชิ้นส่วนด้านข้าง 68 ชิ้น ชิ้นส่วนที่เป็นส่วนพื้นสะพาน 64 ชิ้น โดยพิมพ์มาแล้วเป็นชิ้น ๆ มาประกอบกัน ในตัวสะพานมีการฝังเซนเซอร์วัดค่า เพื่อเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในพัฒนาสะพานในรุ่นต่อ ๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น “3D Printing เป็นการปฏิวัติการผลิต” ศ.ซู กล่าว “เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ประหยัดแรงงาน ซึ่งประเทศจีนประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในช่วงสิบปีข้างหน้า อีกทั้งยังสร้างเตรียมการได้ล่วงหน้าเป็นชิ้น ๆ มาประกอบ” โดยแผนต่อไปของเขาจะเป็นการพิมพ์สร้างอาคาร Wisdom Bay Innovation Park เป็นส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์การพิมพ์สามมิติของประเทศจีน รวมทั้งเป็นแหล่งรวมของบริษัท ไฮเทค ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ มีการทดสอบการใช้สะพานนี้จริงโดยให้แขกรวม 100 คน ไปยืนบนสะพาน เพื่อทดสอบความแข็งแรง ในปี 2019 จะมีการเปิดตัวสะพานจากการพิมพ์สามมิติในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป
ประเทศจีน ยุโรป และอเมริกา ตื่นตัวเรื่องการสร้างโครงสร้างโดย 3D printing concrete กันมาก ในไทยเท่าที่รู้ปัจจุบันมีการวิจัยและทดลองของ SCG เช่นกัน มีการพิมพ์เก้าอี้ เสา และ ป้อมยาม และโครงสร้างอื่น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก: