แทงบอลออนไลน์์77

A comprehensive listing of building and house construction companies swandiamondrose.comailand.

ADVERTORIALS

    

ฉนวนกันร้อนแบบไหนดี



ช่วงหน้าร้อนถึงร้อนจัดแบบนี้ และนับวันจะอุณหภูมิจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากติดแอร์ เปิดพัดลมระบายอากาศ ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเย็นสบายแล้วนั้น ตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้บ้านของเราเย็นลงได้บ้าง คือ การติดฉนวนกันความร้อนให้บ้านของเรานั่นเอง



ฉนวนกันร้อน คือ วัสดุกันความร้อนให้กับตัวอาคาร ติดตั้งได้ทั้งบ้านเก่าและบ้านใหม่ ราคาไม่แพง ตำแหน่งที่ติดตั้งมี 2 ส่วน คือ ฝ้าเพดาน ทำหน้าที่กันความร้อนจากหลังคาบ้านโดยตรง และอีกส่วน คือ ผนังบ้าน ซึ่งทำหน้าที่กันความร้อนและเก็บความเย็นภายในบ้าน ทั้งยังช่วยดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย

การติดตั้งทำได้ 3 แบบ ดังนี้
1. ติดตั้งบนฝ้า เป็นฉนวนแบบม้วนวางบนฝ้าเพดาน ที่นิยม คือ พอลิเอทิลีนโฟม, พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์, พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้ว จะมีความหนาและหุ้มด้วยวัสดุกันความชื้นอย่างแผ่นฟอยล์ ช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมในส่วนใต้หลังคา แต่ต้องมีช่องระบายความร้อนออกตรงฝ้าชายคาบ้านด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามากเกินไป
2. ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ได้แก่ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อะลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม, พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ และฉนวนชนิดฉีดพ่น พอลิยูรีเทนโฟม และเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนแบบนี้ต้องติดตั้งไปพร้อม ๆ กับสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างบ้าน ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม แต่การติดตั้งใต้แผ่นหลังคาสามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด
3. ติดตั้งบนหลังคา ได้แก่ สีสะท้อนความร้อน จะสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน การติดตั้งแบบนี้แนะนำให้ใช้เป็นตัวเสริมกับการติดตั้งฉนวนแบบอื่น ๆ เนื่องด้วยการทาสีมีพื้นผิวที่บางและหากเกิดคราบสกปรกประสิทธิภาพการสะท้อนแสงก็จะลดลง

ฉนวนกันความร้อน มีให้เลือกหลายรูปแบบ แต่หากแบ่งตามคุณสมบัติ ฉนวนกันร้อนจะมี 2 หน้าที่ คือ ดูดซับความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบบแผ่น และแบบพ่น ดังนี้

ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น ติดตั้งได้ง่าย สามารถปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป หรือติดใต้จันทัน จะมีจำหน่ายเป็นม้วน มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วนและราคาก็แตกต่างกันตามวัสดุด้วย ฉนวนในกลุ่มนี้ ได้แก่
1. ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass) เป็นประเภทฉนวนกันร้อนที่ได้ยินชื่อบ่อย ๆ และมีจำหน่ายทั่วไป ลักษณะของฉนวนใยแก้วจะเป็นแผ่นหนาหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยใยแก้วเส้นเล็กที่ประสานตัวเกิดเป็นช่องโพรงอากาศ ซึ่งทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายในนั่นเอง ทั้งยังช่วยดูดซับเสียง ไม่ลุกติดไฟ ติดตั้งง่าย มีทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น มีหลายยี่ห้อให้เลือก ราคาและคุณภาพใยแก้วก็แตกต่างกันออกไปด้วย
2. อลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil) เป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีลักษณะเหนียว คงทน ไม่ขาดง่าย
3. โพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) หรือโฟม PU หรือ โฟมเหลือง เกิดจากเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อนและได้รับการยอมรับว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อน (Thermal Conductivity) ต่ำสุดเพียง 0.019 kcal/m.h Oc โฟมชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ใน
โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีคุณสมบัติป้องกันน้ำ ความชื้น กันเสียงได้ดี แต่ก็เสื่อมสภาพได้ง่าย หากสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไป PU มีทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
4. โพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE เป็นฉนวนกันร้อนที่นิยมมาใช้ในบ้าน เนื่องจากราคาถูกกว่าฉนวนใยแก้ว ลักษณะของโฟม PE เป็นแผ่นเหนียวนุ่ม มีความหนา หุ้มด้วยแผ่นฟอยล์บาง ๆ เคลือบผิวอีกชั้น ต้านทานความร้อนได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกได้ดี
5. โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS หรือ EPS หรือ โฟมขาว สามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น ในท้องตลาดมีจำหน่ายในแบบแยกแผ่นและเป็นฉนวนโฟมที่ติดคู่กับแผ่นยิปซัม น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย จึงทำให้การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว สามารถทำเป็นฝ้าเพดานชั้นใต้หลังคาได้โดยไม่ต้องมีฉนวนอื่นเพิ่ม ช่วยลดขั้นตอนในการในการก่อสร้างได้ จึงนิยมติดตั้งตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างบ้าน

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น เป็นฉนวนที่ใช้พ่นบนวัสดุ เพื่อทำหน้าที่กันความร้อน เช่น แผ่นหลังคาบ้าน ฝ้าเพดาน และผนังห้อง อายุการใช้งานยาวนาน แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. เซรามิคสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating) เป็นแผ่นฟิล์มที่ได้จากอนุภาคเซรามิคมา ผสมกับอะคริลิกและส่วนผสมอื่น ๆ สำหรับพ่นรอบ ๆ อาคาร ทั้งภายในและภายนอก ส่วนใหญ่จะนิยมเคลือบหลังคาและดาดฟ้า กระเบื้องมุงหลังคาบางยี่ห้อก็เคลือบ Ceramic Coating สีทาภายนอกก็ยังเพิ่มฉนวนกันร้อนชนิดนี้ผสมเข้าไปในเนื้อสี ช่วยกันร้อนได้อีกด้วย นอกจากจะกันร้อนได้แล้ว Ceramic Coating ยังกันน้ำซึมได้อีกด้วย
2. เยื่อกระดาษ (Cellulose) สามารถควบคุมอุณหภูมิด้วยเส้นใยที่ผสมกันเป็นปุยนุ่น น้ำหนักเบา ป้องกันเสียงเข้าออก ไม่ลามไฟ คุณสมบัติเฉพาะของเยื่อกระดาษ คือ ไม่เป็นแหล่งอาหารของหนู แมลงสาบ ปลวก ฉีดได้ในหลายพื้นผิวทั้ง เหล็ก ไม้ เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณใต้หลังคา โพรงหลังคา และฝ้าเพดาน

ฉนวนกันความร้อน มีให้เห็นในท้องตลาดมากมายหลายชนิด หลายรูปแบบ หลายยี่ห้อ สามารถเลือกซื้อได้ง่าย เราต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพราะสิ่งนี้จะอยู่คู่กับบ้านของเราอีกนาน ดังนั้น ต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อให้ได้ฉนวนกันความคุณภาพดี ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน งบประมาณตรงใจ เหมาะสมกับบ้านของเรา


ขอบคุณที่มา JOMM YB, จาก ,

  • เรตบอล ราคาบอล SBOBET Ladbrokes Bet365 |
  • เว็บพนันออนไลน์ เว็บตรง อันดับ 1 ของโลก ดีที่สุด 2023 |
  • สล็อตเว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด สล็อตวอเลท ไม่มีขั้นต่ำ |
  • 14 เว็บพนันออนไลน์เว็บตรงที่ดีที่สุดในปี 2023 |